ปรากฎการณ์ "ปลากอง" (แซลมอนเมืองน่าน) บ้านผาสุก อ.บ่อเกลือ จ.น่าน 1 ปี มีครั้งเดียว
ปลากอง หรือ ปลาปากหนวด หรือปลาปีกแดง มีพฤติกรรมการวางไข่ที่วิเศษ และอาจจะเหลือเพียงแห่งเดียวในเมืองไทยที่ จ.น่าน เท่านั้น เป็นการว่ายทวนน้ำในระดับน้ำที่ลึกแค่ 3-5 ซม. เพื่อไปผสมพันธ์และวางไข่ และส่วนใหญ่จะวางไข่ในวันพระ ซึ่งล่าสุด เกิดเมื่อวันที่ 26 ก.พ.64 วันมาฆบูชา ปลาปากหนวด หรือ ปลาปีกแดง ปลาน้ำจืด ชนิด หนึ่ง มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hypsibarbus vernayi ใน วงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียง ปลาตะพากเหลือง ( H. wetmorei ) แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นไม่ยาวถึงโคนหางเหมือนปลาตะพากเหลือง ครีบและหางเป็น สีแดง เข้มหรือ สีส้ม และถิ่นที่อยู่พบใน ภาคอีสาน , ภาคเหนือ และภาคกลางแถบ จังหวัดเพชรบุรี , ราชบุรี พบน้อยกว่าปลาตะพากเหลือง พบเป็นบางฤดูกาลเท่านั้น ปลาปากหนวด หรือ ปลาปีกแดง ในช่วงวันขึ้น 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ ในเดือนมีนาคม ของทุกปี ในแม่น้ำมาง ซึ่งเป็นสาขาของ แม่น้ำน่าน ในตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน จะมีปรากฏการณ์ที่ปลาปากหนวดนับพันหรือหมื่นตัวว่ายทวนน้ำขึ้นไปผสมพันธุ์และวางไข่ตามลำน้ำและโขดหิน ซึ่งปลาจะมากองรวมกัน ชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า